นอนกัดฟัน อาการนี้ คุณเคยสังเกตตัวเองไหมคะเวลาที่เราตื่นมาแล้วรู้สึกว่าปวดกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกร หรือว่าปวดหัวอาการเหล่า นี้อาจจะบ่งบอกได้ว่าเรากำลังมี ปัญหานอนกัดฟัน บางท่านที่มี อาการนอนกัดฟันบางทีก็ไม่รู้ตัวค่ะ
การนอนกัดฟันเกิดจากสาเหตุอะไร?
ในเรื่องของการนอนกัดฟัน ปัจจุบันก็คือมีการศึกษาแล้วก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดการนอนกัดฟัน แต่ว่าเขาพบว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่คนเรา เริ่มมีการนอนกัดฟันระบบประสาทอัตโนมัติจะเริ่มมีการทำงานกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมแบบนี้ขึ้นแต่ว่า ทั้งนี้ก็จะมีปัจจัยอย่างเช่น
เรื่องของความเครียด อารมณ์ ความวิตกกังวล หรือแม้กระทั่ง พันธุกรรม ที่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการนอนกัดฟันในคนเราขึ้น ก็คือเกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ เป็นตัวสั่งการให้กล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกรของเราเกิดการขบฟันขึ้น
ผู้ป่วยที่มีอาการนอนกัดฟันเกิดในช่วงอายุประมาณเท่าไหร่?
จริงๆแล้วคือในเรื่องของการนอนกัดฟันเนี่ยเราสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัยเลยชายและหญิงสามารถพบได้เท่ากันส่วนในช่วงอายุเนี่ยก็ส่วนใหญ่แล้วจะพบในช่วงวัยรุ่นจนถึงประมาณว่าทำงานเป็นส่วนใหญ่แต่ทั้งนี้จริงๆแล้วการนอนกัดฟัน ก็จะพบได้ทั้งในเด็กและก็ในผู้สูงอายุรวมด้วยเพียงแต่ว่าเราจะสังเกตตัวเราเองในช่วงวัยทำงานวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่มากกว่าผู้สูงอายุแล้วก็เลยพบในช่วงนี้ได้มากขึ้น
สังเกตตัวเองได้ไงคะว่าเรามีปัญหานอนกัดฟัน?
บางคนที่นอนกัดฟันเนี่ยอาจจะลองสอบถามจากคนใกล้ตัวที่เรานอนด้วยใกล้ๆเลยก็ได้ ว่าในระหว่างที่เรานอนหลับเนี่ยมีเสียงที่เรากำลังกัดฟันอยู่หรือเปล่าอันนี้ก็เป็นอย่างนั้นคือสอบถามจากคนรอบข้าง
อย่างที่สองก็คือเราอาจจะลองสังเกตจากตัวเราเองอย่างเช่น
1.พอตื่นมาปุ๊บรู้สึกมีปวดบริเวณขมับปวดบริเวณขากรรไกรร่วมด้วยหรือเปล่าหรือแม้กระทั่งเจ็บบริเวณข้อต่อซึ่งอยู่บริเวณหน้าหูอาการเหล่านี้ก็จะบ่งบอกถึงว่าเราอาจจะมีการนอนกัดฟันระหว่างตอนกลางคืนได้
2.รวมไปถึงอาจจะพบว่าในช่องปากแล้วเนี่ยมีฟันสึกฟันแตกบิ่นที่มีการสึกมากกว่าปกติรวมถึงมีรอยที่บริเวณกระพุ้งแก้มหรือว่ารายการบริเวณด้านข้างลิ้นก็อาจจะเป็นตัวช่วยบอกนะว่าเรามีนอนกัดฟันร่วมด้วยหรือเปล่า
บางคนที่เขามีอาการนอนกัดฟันจะส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง?
การนอนกัดฟันเนี่ยมันจะเป็นแรงที่กระทำต่อทั้งบริเวณฟันแล้วก็กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับระบบบดเคี้ยวรวมถึงข้อต่อขากรรไกรด้วยแรงที่มากเกินไปเหล่านี้ก็จะเหมือนทำลายอวัยวะเหล่านี้ร่วมด้วย
ผลเสียที่เราเห็นได้หลักๆเลยก็อย่างเช่นฟันสึก ฟันอาจะสึกมากกว่าปกติมากกว่าการที่เราจะไปเคี้ยวอะไรแข็งๆด้วยซ้ำ
ซึ่งเมื่อฟันเหล่านี้สึกไปมากขึ้น มันเป็นธรรมชาติที่ไปแล้วไปเลย เพราะฉะนั้นถ้าฟันสึกไปเยอะมันอาจจะสึกจนทะลุโพรงประสาทฟันได้ ผลที่ตามมาเมื่อฟันสึกทะลุโพรงประสาทฟันแล้วก็จะต้องรักษารากฟัน หรือไม่บางรายก็ต้องทำครอบฟันร่วมด้วย
บางครั้งบางรายมันสึกมากจนกระทั่งไม่สามารถที่จะเก็บฟันซี่นั้นไว้ได้แล้วก็จำเป็นต้องถอนไปเราก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการทำฟันเทียมยุ่งยากต่างๆตามมาเลย
การจัดฟันมีผลกับการที่เราจะเกิดปัญหานอนกัดฟันด้วยไหม?
บางรายอาจจะสอบถามข้อสงสัยว่าหลังจากที่จัดฟันแล้วก็เริ่มมีอาการกัดฟันตามมาภายหลังจริงๆแล้วมีการศึกษาในทุกวันนี้ ยืนยันแล้วว่าการจัดฟันอาจจะไม่ได้เป็นสาเหตุที่จะไปกระตุ้นให้เกิดการนอนกัดฟันได้เพียงแต่ว่าในคนไข้บางราย
อาจจะไม่เคยสังเกตตนเองมาก่อนว่าเราเคยนอนกัดฟัน อยู่แล้ว และเมื่อเราไปจัดฟันปุ๊บมันก็มีอาการปวดข้อต่อขากรรไกรหรือแม้กระทั่งเรื่องสังเกตฟันมีรอยสึกแหล่งตามมา คนไข้ก็เริ่มสังเกตตัวเองว่าเวลานอนกัดฟันด้วยหรือเปล่าก็เลยกลายเป็นว่าเขา คิดว่าที่ว่าเราจัดฟันมา ทำให้ส่งผลลัพธ์นอนกัดฟันตามมาแต่ว่าที่จริงแล้วคือทุกวันนี้เราก็มีงานวิจัยที่พอจะยืนยันออกมาได้แล้วว่า
การจัดฟันไม่ได้เป็นสาเหตุที่ไปกระตุ้นให้เกิดการนอนกัดฟันเพียงแต่อาจจะเกิดร่วมกันได้โดยบังเอิญ
แบบนี้มีทางแก้ไขไหม?
ในเรื่องของการนอนกัดฟันเนี่ยถ้าจะให้เป็นเรื่องของการแก้ไขให้เราไม่กัดฟันเลยเนี่ยในปัจจุบันอาจจะยังไม่สามารถทำได้ตั้งแต่ที่บอกไปว่ามันเป็นเรื่องของระบบประสาทที่กระตุ้นให้เราเกิดพฤติกรรมการกัดฟันโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นในการรักษาในปัจจุบัน จะเป็นในเรื่องของการบรรเทาอาการมากกว่า ที่จะหายจากอาการนอนกัดฟัน เราทำได้เพียงแค่ว่าบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นอย่างเช่น
ถ้าเรามีอาการปวดข้อต่อขากรรไกรหรือปวดขมับปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าจากการที่เรานอนกัดฟันนานๆเนี่ยเราก็คือคนที่จะประคบอุ่นเอาผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณที่ปวด
แล้ว ถ้าเรามีฟันสึกแก้ไขโดย ก็ใส่เครื่องมือในช่องปากเป็นการวิธีป้องกันไม่ให้ฟันสึกไปมากกว่าเดิมเครื่องมือนี้ก็คือเป็นเรียกว่า เฝือกสบฟัน (hard occlusal splint) ก็คือจะเป็นตัวที่ช่วยป้องกันฟันของเราไม่ให้สึกไปมากกว่าเดิม
คือคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องนอนกัดฟันมาพบทันตแพทย์ ทันตแพทย์ก็จะทำเครื่องมือชนิดนี้ให้ซึ่งมันคือทำเป็นทำมาจากวัสดุชนิดหนึ่งซึ่งมีความแข็งพอสมควรก็จะช่วยทนทานต่อแรงที่เรากัดฟันแล้วก็ป้องกันไม่ให้ฟันเราสึก โดยจะใส่ในช่วงที่เรานอน
อันนี้ก็คือจะเป็นเครื่องมือที่ใส่ในฟันบนคือเครื่องมือชนิดนี้จะใส่ฟันบนชิ้นนึงหรือฟันล่างชิ้นหนึ่งอย่างใดอย่างหนึ่งมันขึ้นอยู่กับ ลักษณะของคนไข้ลักษณะมีฟันหายไปมากน้อยแค่ไหนเราก็จะเลือกใส่ในขากรรไกรที่มันใส่แล้วมีความมั่นคงมีความมีแรงยืดอยู่ที่ดีกว่า
เราหมายถึงลักษณะของคนไข้ด้วยถ้าเกิดว่าเป็นคนไข้ที่ ขากรรไกรล่างยื่นมามากบางทีเราอาจจะไม่สามารถที่จะใส่ในขากรรไกรที่มันยื่นมามากได้เพราะอาจจะทำให้เราปิดปากนอนไม่ได้
ซึ่งคุณหมอเขาก็จะเลือกขากรรไกรบนหรือล่างที่เหมาะสมที่ทำให้ใส่แล้วคนไข้สามารถที่จะใส่นอนได้โดยที่ไม่รู้สึกรำคาญอะไรมาก
เพราะว่าเครื่องมือมันก็มีความหนาก็สมควรและมีความแข็งด้วย ลักษณะของเฝือกสบฟัน ถ้าสังเกตดูดีๆก็คือว่ามันจะคลุมบริเวณด้านบดเคี้ยวของฟันและขากรรไกรด้านนั้นทั้งหมด ซึ่งเมื่อมันคลุมบริเวณด้านบดเคี้ยวแล้ว เมื่อไหร่ที่เรากัดฟันลงมาฟันจะขึ้นไปสบบริเวณเครื่องมือนี้แทน เมื่อมันเกิดการกัดถูไถเนี่ยเครื่องมือเป็นตัวสึกแทนให้เพราะว่าวัสดุที่ทำตัวสบฟันนี้ มันจะอ่อนกว่าเนื้อฟันเรา
เพราะฉะนั้นตัวเครื่องมือก็จะเป็นตัวสึกไปแทนเนื้อฟัน
แล้วถ้าในระยะที่เป็นหนักๆมากๆแล้วเฝือกสบฟันอันนี้ช่วยได้ไหม?
ถ้ามีนอนกัดฟันยังไงก็ต้องใส่เครื่องมือจัดฟันอันนี้ในเวลานอนถึงแม้ว่าฟันจะสึกไปแล้วโดยใส่เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ฟันสึกไปมากกว่านี้อาจจะมีฟันซี่อื่นในช่องปากให้เรายังสามารถเก็บรักษาไว้ได้ก็ควรที่จะใส่เครื่องมือไว้เพื่อไม่ให้ฟันซี่อื่นตามมา
ราคาในการจัดทำ
เฝือกสบฟัน (hard occlusal splint) ราคาราวๆ 3500-7000 บาท
หากเราจะหาอุปกรณ์ที่ ใช้ทดแทน เฝือกสบฟัน (hard occlusal splint) นั้นก็สามารถทำได้ซึ่งเราจะเรียก ว่าเป็น (soft night guard)
*สามารถใช้ได้ทั้งด้านบนและด้านล่าง*
ตัวนี้เป็น เฝือกสบฟันพร้อมใช้ชนิดอ่อน(soft night guard) เป็นเฝือกสบฟันที่ทำจากวัสดุนิ่ม ทำได้ง่ายและรวดเร็ว มักใช้ในกรณีที่
– ใช้ทดทนสำหรับผู้ที่มีอาการกัดฟันไม่หนักมาก
– ผู้ป่วยอายุน้อย ขากรรไกรยังมีการเจริญเติบโต จึงไม่ขัดขวางการเจริญเติบโตของขากรรไกร
– ใช้บำบัดฉุกเฉินในผู้ป่วยที่มีอาการปวดมาก ใช้ชั่วคราวระหว่างรอทำเฝือกสบฟันชนิดแข็ง
โดยเฝือกสบฟันชนิดอ่อน มีอายุการใช้งานสั้น จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยๆ และก่อนใช้งานต้องพิมพ์ร่องฟันก่อนใช้งานตามวิธีของแต่ละประเภท
** การใช้เฝือกสบฟันแต่ละชนิดไม่สามารถแก้อาการนอนกัดฟันให้หายถาวรได้ แต่ช่วยบรรเทาผลการทบที่เกิดจากการกัดฟันได้**